ยาระบายใน 7–11 ตั้งครรภ์ใช้ได้ไหม?

คำถาม ยาระบายใน 7–11 ตั้งครรภ์ใช้ได้ไหม? คำตอบ ยาระบายที่ขายตามร้านสะดวกซื้อหรือ 7–11 มักจะเป็นมะขามแขก ซึ่งจัดอยู่ในกลุ่ม Pregnancy Category C by the FDA ความหมายคือ การทดลองในสัตว์พบว่ายานี้ส่งผลเสียต่อทารกในครรภ์ แต่ยังไม่มีการศึกษาวิจัยที่ครอบคลุมในคน พูดแบบง่ายๆ ก็คือยานี้ส่งผลเสียต่อทารกของสัตว์ทดลองแต่ในคนนั้นไม่ทราบ ถึงแม้ว่าหลังๆ จะมีหลักฐานออกมาว่าความเสี่ยงต่อทารกในครรภ์มนุษย์นั้นต่ำมาก “แต่เนื่องจากมียาระบายอื่นที่เหมาะที่จะใช้ขณะตั้งครรภ์มากกว่า จึงไม่ควรหายานี้รับประทานเอง หากตั้งครรภ์แนะนำให้ซื้อยาที่ร้านยาจะดีกว่าหายากินเอง และอย่าลืมแจ้งว่าตั้งครรภ์อยู่” ผู้ตอบ: เภสัชกรประจำเว็บไซต์ iam-goods.com อ้างอิง Al-Zidan, R. N. (2021). Drugs in Pregnancy: A Handbook for Pharmacists and Physicians. Apple Academic Press Inc. Docusate/senna Use During Pregnancy. Available at: https://www.drugs.com/pregnancy/docusate-senna.html (Accessed: 26 November 2024)

November 26, 2024 · 1 min

ยาพาราออกฤทธิ์ภายในกี่นาที?

คำถาม ยาพาราออกฤทธิ์ภายในกี่นาที? คำตอบ ยาพารา หรือชื่อเต็มๆ คือ พาราเซตามอล(paracetamol) ถ้าเป็นรูปแบบเม็ด(tablet) หรือ แคปซูล(capsule) โดยทั่วไปจะเริ่มออกฤทธิ์ภายใน 30-60 นาทีหลังจากรับประทาน หากต้องการให้ออกฤทธิ์เร็วขึ้นควรรับประทานตอนท้องว่าง เพราะอาหารสามารถรบกวนการดูดซึมยาทำให้ออกฤทธิ์ช้าลงได้ ไม่ต้องห่วงเรื่องระคายเคืองกระเพาะอาหารเพราะยาตัวนี้ไม่กัดกระเพาะอยู่แล้ว ซึ่งสาเหตุคือปกติอาหารจะเดินทางจากกระเพาะไปลำไส้เล็ก การมีอาหารในกระเพาะต้องใช้เวลาย่อยก่อน ทำให้เพิ่มเวลาที่อาหารจะไปถึงลำไส้เล็ก ซึ่งยาพาราเซตามอลนี้ถูกดูดซึมที่ลำไส้เล็ก การมีอาหารในกระเพาะจึงทำให้ออกฤทธิ์ช้าลงได้เพราะใช้เวลานานขึ้นกว่ายาจะไปถึงลำไส้เล็ก หากรับประทานยานี้ขณะท้องอิ่ม อาจต้องใช้เวลาถึงสองเท่าจึงจะออกฤทธิ์ นอกจากนี้พาราเซตามอลจะใช้เวลาในการออกฤทธิ์ลดไข้นานกว่าการบรรเทาอาการปวด ผู้ตอบ: เภสัชกรประจำเว็บไซต์ iam-goods.com อ้างอิง Paracetamol - Generic Medicine Info. Available at: https://www.mims.com/thailand/drug/info/paracetamol?mtype=generic (Accessed: 25 November 2024) How long does it take for Tylenol to start working?. Available at: https://www.drugs.com/medical-answers/how-long-for-tylenol-start-work-513549/ (Accessed: 25 November 2024)

November 25, 2024 · 1 min

วิธีอยู่กับเซ็บเดิร์ม แชร์ skin care จากผู้ใช้จริง

ภาพรวมการอยู่ร่วมกับเซ็บเดิร์ม เซ็บเดิร์มหรือโรคผื่นแพ้ต่อมไขมัน (Seborrheic Dermatitis) ลักษณะชัดๆ คือจะเป็นผื่นแดง คัน มีผิวลอก มักเป็นข้างจมูก หว่างคิ้ว คาง และหนังศรีษะลอกเป็นแผ่น หรือแม้กระทั่งใบหูก็เป็นได้ ผลิตภัณฑ์ดูแลผิวแนะนำ Skin care ต่างๆ ที่สัมผัสบนหน้าแทบจะมีความสำคัญเกือบทั้งหมดเพราะว่าส่งผลต่อความแข็งแรงของผิวหน้าโดยตรง ต้องเลือกใช้ให้เหมาะสมที่สุด โดยหลักสำคัญในการเลือก skin care สำหรับผิวที่เป็นโรคเซ็บเดิร์มคือต้องไม่ทำลายเกราะผิวหนังเดิมและบำรุงผิวหนังให้แข็งแรงยิ่งขึ้น ซึ่ง skin care ที่แนะนำให้ใช้จะมีดังนี้ Cetaphil gentle cleanser ผลิตภัณฑ์ล้างหน้าตัวนี้ลองใช้ดูแล้วแรกๆ จะรู้สึกเหมือนไม่สะอาด เนื่องจากไม่มี soap เป็นส่วนผสมที่จะทำให้หน้ารู้สึกตึงและสะอาดกว่า เพราะหน้าจะยังรู้สึกลื่นๆ แต่จริงๆ แล้วแค่นี้เพียงพอสำหรับการล้างหน้าแล้ว และยังไม่ทำลายส่วนสำคัญที่เป็นเกราะป้องกันผิวด้วย ใช้หลายๆ ครั้งจะเห็นความแตกต่างว่าดีกว่าสบู่ล้างหน้าที่มี soap ชัดเจน ผิวไม่แห้งตึง ชุ่มชื้นขึ้น เจ็บหน้าน้อยลง ไม่ทำให้ผื่นอักเสบเพิ่มขึ้น Physiogel soothing care ai cream/lotion ตัวนี้นอกจากบำรุงผิวให้แข็งแรงแล้วยังลดอาการคัน แดง ทาแล้วจะรู้สึกผิวหนังตรงที่เป็นเซ็บเดิร์มไม่ตึงเท่าก่อนทา ทำให้ผิวยืดหยุ่นขึ้นชัดเจน ต้องใช้ตัว physiogel รุ่นที่เป็น ai เท่านั้น (สีแดง) เนื่องจากลองใช้สีฟ้าแล้วไม่รู้สึกดีขึ้น ควรใช้ตัว ai เท่านั้นสำหรับคนที่เป็นเซ็บเดิร์ม ซึ่งรุ่น ai จะมีทั้งแบบ lotion และแบบ cream ซึ่งใช้ได้ทั้ง 2 แบบ แบบ cream จะเนื้อหนักเหนอะและมันกว่า แต่ก็จะรู้สึกชุ่มชื้นกว่า ส่วนแบบ lotion เนื้อจะเบาก็จะทาง่ายกว่า Physiogel soothing care ai cream ...

November 20, 2024 · 2 min

วิธีกินกล้วยดิบรักษาโรคกระเพาะ

กล้วยดิบมีคุณสมบัติป้องกันแผลในกระเพาะ มีสาร leucocyanidin ปกป้องเยื่อบุกระเพาะอาหาร ส่งเสริมการหลั่งเมือก ยับยั้งการหลั่งกรด วิธีรับประทานจะใช้เป็นผงกล้วยดิบ ไม่ควรใช้กับผู้ที่ท้องผูก

November 14, 2024 · 1 min

9 สาเหตุที่ทำให้เกิดโรคเบาหวาน

โรคเบาหวานส่วนใหญ่เกิดจากปัจจัยด้านไลฟ์สไตล์ เช่น อาหาร การออกกำลังกาย และน้ำหนักตัว แต่ปัจจัยทางพันธุกรรมก็มีบทบาท ปัจจัยเหล่านี้ทำให้เกิดภาวะดื้อต่ออินซูลิน ส่งผลให้ร่างกายไม่สามารถควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดได้ จนเกิดเป็นเบาหวานในที่สุด ซึ่ง 9 สาเหตุที่ทำให้เกิดโรคเบาหวานมีดังนี้

November 12, 2024 · 2 min