เซนทรัม ช่วยอะไร เหมาะกับใคร
เซนทรัม(Centrum) คือวิตามินรวม(multivitamin) แต่ถ้าถามว่าเหมาะกับใคร เราอาจจะต้องทำความเข้าใจกับสารอาหารพื้นฐานกันสักเล็กน้อย โดยปกติร่างกายเราต้องได้รับสารอาหาร 2 ประเภท คือ สารอาหารหลัก(macronutrient) เช่น คาร์โบไฮเดรต โปรตีน และไขมัน อีกประเภทคือสารอาหารรอง(micronutrient) เช่น ธาตุอาหารต่างๆ ธาตุเหล็ก แคลเซียม ซิงค์ และวิตามินต่างๆ โดยจะได้จากการกินอาหารหลากหลายชนิด เช่น ได้ธาตุเหล็กจากการกินเนื้อสัตว์ ผักใบเขียว ได้วิตามินซี(vitamin c) จากการกินผลไม้ เช่น ฝรั่ง ส้ม ซึ่ง Centrum หรือวิตามินรวม(multivitamin) จะตอบโจทย์ตรงธาตุอาหารรองตรงนี้ คือ Centrum จะประกอบด้วยสารอาหารรอง(micronutrient) หลายๆชนิด สารอาหารรอง(Micronutrients) ถามว่าเมื่อเป็นสารอาหารรองนี่เราจำเป็นต้องได้รับไหม ก็ตอบได้ว่าต้องได้รับ ถึงแม้จะไม่ได้ต้องการมากเท่าสารอาหารหลัก แต่หากขาดสารอาหารรอง ก็สามารถก่อให้เกิดผลเสียต่อร่างกายได้ อย่างเช่น ขาดวิตามินซี (vitamin c): อาจทำให้เกิดเลือดออกตามไรฟัน ขาดวิตามินบี 12 (vitamin b12): ทำให้รู้สึกเหนื่อย หมดแรง และอาจมีความรู้สึกเหมือนถูกเข็มจิ้มตามมือเท้า(tingling) ขาดธาตุเหล็ก (iron): ทำให้เกิดโลหิตจาง เหนื่อย เพลีย หายใจไม่อิ่ม(หายใจถี่ๆ) สรุปก็คือสารอาหารหลัก(macronutrients) จะให้พลังงานที่จำเป็นสำหรับการทำงานของร่างกาย ในขณะที่สารอาหารรอง(micronutrients) ถึงแม้จะต้องการในปริมาณที่น้อยกว่า แต่จะเป็นตัวช่วยสำคัญที่ทำให้อวัยวะต่างๆ ทำงานได้อย่างปกติ จะเห็นว่าการขาดสารอาหารรอง(micronutrients) สามารถทำให้เกิดปัญหาทางสุขภาพได้ โดยรบกวนการพัฒนา การซ่อมแซมร่างกาย ทำให้ภูมิคุ้มกันอ่อนแอลง และเพิ่มความเสี่ยงโรคเรื้อรัง ซึ่งสามารถแก้ไขได้โดย การปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการกิน การกินอาหารเสริมเพิ่มในส่วนที่ขาด การวางแผนการกินให้ได้สารอาหารครบถ้วน ...
13 สิ่งที่ควรรู้เกี่ยวกับยาพาราเซตามอล
พาราเซตามอล หรือเรียกอีกอย่างว่า อะเซตามิโนเฟน เริ่มใช้ครั้งแรกในคนตั้งแต่ปี 1887 ถึงปัจจุบัน ซึ่งพูดได้เลยว่าเป็นยาที่มีประวัติมาค่อนข้างนาน เรียกได้ว่าข้อมูลของยาพาราเซตามอลที่เก็บข้อมูลมาตั้งแต่อดีตถึงปัจจุบันนั้นมากมาย เนื่องจากเป็นยาที่นิยมใช้ที่สุด แต่สิ่งที่เราควรรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับยาพาราเซตามอล เพื่อที่จะใช้พาราเซตามอลให้ปลอดภัยมีดังนี้ 1. ยาพาราเซตามอลช่วยเรื่อง? ยาพาราเซตามอลช่วยเรื่องแก้ปวดและลดไข้ ในระดับเริ่มต้นถึงระดับกลาง ยาพาราเซตามอลมักเป็นยาตัวเลือกแรกที่ใช้ในการลดไข้ แก้ปวดเนื่องจากผลข้างเคียงน้อยกว่าตัวอื่น โดยเฉพาะในผู้ที่เป็นโรคหัวใจ โรคกระเพาะอาหาร และโรคไต 2. ปวดแบบไหนใช้ไม่ได้? ยาพาราเซตามอลไม่มีฤทธิ์ลดอักเสบ ไม่เหมาะกับพวกปวดข้อที่เกิดจากการอักเสบ เช่น โรคข้ออักเสบ การบาดเจ็บต่างๆ 3. ปัญหาที่พบบ่อยของการใช้ยาพาราเซตามอล ปัญหาที่พบบ่อยของการใช้ยาพาราเซตามอลคือใช้เกินขนาด ซึ่งอาจนำไปสู่ความเสียหายต่อตับอย่างรุนแรงได้ ความเสี่ยงนี้จะเพิ่มขึ้นตามปริมาณการใช้ยาที่สูงขึ้น นอกจากนี้ยาแก้ปวดที่ขายปัจจุบันจะมีสูตรผสมที่อาจมียาพาราเซตามอลผสมกับตัวอื่นๆ หากกินยาพาราพร้อมกับยาแก้ปวดสูตรผสมก็อาจทำให้ได้รับยาเกินขนาดโดยไม่จำเป็น เช่น ยาคลายกล้ามเนื้อ ยาแก้ปวด ต่างๆ 4. ยาพาราเซตามอลกับโรคตับ ผู้ที่ตับไม่ดีอาจเกิดพิษของพาราเซตามอลง่ายขึ้น เนื่องจากความสามารถในการเผาผลาญยาของตับแย่ลง ทำให้เกิดการสะสมสารพิษในตับง่ายขึ้น 5. ยาพาราเซตามอลกับแอลกอฮอล์ การดื่มแอลกอฮอล์ร่วมกับการใช้ยาพาราเซตามอลเพิ่มความเสี่ยงที่จะทำให้เกิดพิษต่อตับเพิ่มขึ้น เนื่องจากทั้งแอลกอฮอล์และพาราเซตามอลจะถูกเผาผลาญผ่านตับทั้งคู่ การดื่มแอลกอฮอล์ทำให้ความเป็นพิษของยาเกิดเร็วขึ้น คือ รับประทานยาขนาดปกติก็อาจทำให้เกิดพิษต่อตับได้ ควรหลีกเลี่ยงการรับประทานทั้งสองอย่างพร้อมกันเพื่อหลีกเลี่ยงผลข้างเคียงต่อตับ 6. วิธีรับประทานยาพาราเซตามอลที่ถูกต้อง ยาพาราเซตามอลควรรับประทานตามน้ำหนักตัว สำหรับพาราเซตามอลขนาด 500 มิลลิกรัม น้ำหนักตัว 34–50 กิโลกรัม รับประทานครั้งละ 1 เม็ด น้ำหนักตัว 50–67 กิโลกรัม รับประทานครั้งละ 1 เม็ดครึ่ง น้ำหนักตัวมากกว่า 67 กิโลกรัม ครั้งละ 2 เม็ด 7. ไม่ควรรับประทานเกินกี่เม็ด? ยาพาราเซตามอลขนาด 500 mg ถ้าจะให้ดีไม่ควรรับประทานเกิน 2 เม็ดต่อครั้ง และไม่ควรเกิน 6 เม็ดต่อวัน (ไม่เกิน 3250 มิลลิกรัมต่อวัน) เต็มที่ไม่เกิน 8 เม็ดต่อวัน (4000 มิลลิกรัมต่อวัน) ...
รักษาท้องเสียด้วยตัวเองเบื้องต้น ด้วยยาร้านสะดวกซื้อ
สิ่งที่ต้องคิดเป็นอันดับแรกเมื่อท้องเสีย คือ จะเสียน้ำและเกลือแร่ไปกับการถ่ายออกไปปริมาณมาก ทำให้สิ่งที่ตามมาคือ ภาวะขาดน้ำ(dehydration) ซึ่งการเสียชีวิตจากโรคท้องเสียส่วนใหญ่จะเกิดจากสาเหตุนี้ เพราะฉะนั้นสิ่งที่ต้องทำเป็นอย่างแรกคือ ป้องกันการสูญเสียน้ำออกจากร่างกาย ซึ่งจะใช้เกลือแร่สำหรับท้องเสีย หรือที่เรียกว่าผงโออาร์เอส (Oral rehydration salt – ORS) ที่เราสามารถหาซื้อได้ง่ายตามร้านสะดวกซื้อ หรือร้านยาทั่วไป วิธีเลือกยาแก้ท้องเสีย (ORS) เกลือแร่แก้ท้องเสีย (ORS) ไม่เพียงแต่ช่วยรักษาภาวะขาดน้ำ(dehydration) เท่านั้น แต่ยังสามารถป้องกันภาวะขาดน้ำได้อีกด้วย หรือถ้าท้องเสียง่ายก็ควรซื้อติดบ้านไว้เลย ทีนี้เวลาไปร้านสะดวกซื้อจะหาซื้อเกลือแร่สำหรับท้องเสีย ต้องเลือกยังไง?? ต้องเป็น ORS powder เท่านั้นหรือหน้าซองจะระบุชัดเจนว่าเป็นเกลือแร่สำหรับแก้ท้องเสีย เกลือแร่แบบอื่นใช้แทนไม่ได้ เพราะไม่ได้ออกแบบมาสำหรับให้คนท้องเสียกิน สังเกตง่ายๆ อีกอย่างหน้าซองจะระบุไว้เลยว่า เกลือแร่สำหรับ “แก้ท้องเสีย” ท้องร่วง หรือระบุบนหน้าซองว่า “ORS powder ผงโออาร์เอส” ถ้าเป็นเกลือแร่อื่นๆ เช่น เกลือแร่ผงสำหรับนักกีฬา เสียเหงื่อ หรือเกลือแร่ขวดที่ขายในตู้เย็นร้านสะดวกซื้อจะไม่มีคำนี้ระบุอยู่ วิธีรับประทานเกลือแร่แก้ท้องเสีย (ORS) เมื่อเริ่มมีอาการท้องเสีย สามารถเริ่มดื่มเกลือแร่แก้ท้องเสีย ORS ได้เลยโดยที่ไม่ต้องรอให้อาการหนัก เพราะช่วยป้องกันไม่ให้เกิดภาวะขาดน้ำ(dehydration) ผสมผงเกลือแร่แก้ท้องเสีย ORS กับน้ำสะอาด (น้ำดื่ม) เตรียมตามวิธีที่บอกหลังซอง ORS ที่ซื้อมา ใช้ปริมาณน้ำตามที่ระบุหลังซอง ถ้าที่ขายในร้านสะดวกซื้อ 1 ซองจะผสมน้ำ 250 มิลลิลิตร หรือน้ำ 1 แก้ว (แต่ละยี่ห้ออาจใช้น้ำไม่เท่ากัน ควรดูหลังซอง) ละลายผงเกลือแร่ ORS กับน้ำสะอาด 250 มิลลิลิตร หรือน้ำ 1 แก้ว จากนั้นคนให้ละลายจนหมด !!!อย่าลืมคำนึงถึงความสะอาดของทุกอย่างที่จะใช้กับผู้ป่วยท้องเสีย เช่น แก้ว ช้อน ชาม ต่างๆ ...
อาหารสำหรับผู้ป่วยเบาหวาน (Glucerna SR) ดีอย่างไร
อาหารสำหรับผู้ป่วยเบาหวานคืออะไร อาหารปกติที่เรารับประทานกันมักจะเป็นแบบย่อยเร็ว เช่น ข้าว แป้ง ซึ่งเปลี่ยนเป็นน้ำตาลได้เร็ว ทำให้น้ำตาลในเลือดพุ่งสูงขึ้น ส่วนอาหารสำหรับผู้ป่วยเบาหวาน จะออกแบบมาให้ย่อยได้ช้าลง ไม่ทำให้น้ำตาลในเลือดพุ่งสูงในทีเดียว ซึ่งส่งผลดีต่อผู้ป่วยเบาหวานมากกว่า โดยทั่วไปจะมีเกณฑ์วัดว่าอาหารชนิดไหนทำให้ระดับน้ำตาลในเลือดเพิ่มขึ้นมากน้อยแค่ไหน ซึ่งเราจะเรียกว่า ดัชนีน้ำตาล (glycemic index) ดัชนีน้ำตาล (glycemic index) ดัชนีน้ำตาล (glycemic index) เป็นค่าที่ใช้วัดว่าอาหารแต่ละชนิดทำให้ระดับน้ำตาลในเลือดเพิ่มขึ้นมากน้อยแค่ไหน จะแบ่งเป็น 3 ระดับ ต่ำ (Low): น้อยกว่าหรือเท่ากับ 55 กลาง (Medium): 56–69 สูง (High): ตั้งแต่ 70 ขึ้นไป จะเห็นว่าอาหารที่มีค่าดัชนีน้ำตาล (glycemic index) ยิ่งสูง น้ำตาลในเลือดยิ่งเพิ่มสูงขึ้นเร็วซึ่งไม่ดี เพราะจะไปกระตุ้นให้เพิ่มการหลั่งอินซูลินเพื่อมาดึงน้ำตาลไปใช้ (อินซูลินทำงานหนัก) นานๆ เข้าทำให้อินซูลินทำงานผิดปกติจนไม่สามารถควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดได้ส่วนอาหารที่มีดัชนีน้ำตาลต่ำจะมีข้อดีที่สำคัญคือช่วยคุมระดับน้ำตาลในเลือดให้ดีขึ้นได้ โดยมีงานวิจัยที่แสดงให้เห็นว่าการกินอาหารที่มีดัชนีน้ำตาลต่ำจะช่วยลดระดับน้ำตาลในเลือดได้ อาหารสำหรับผู้ป่วยเบาหวาน Glucerna SR (กลูเซอนา เอสอาร์) Glucerna sr เป็นผลิตภัณฑ์ที่ทำขึ้นเพื่อผู้ป่วยเบาหวานโดยเฉพาะ คือจะออกแบบมาให้มีค่าดัชนีน้ำตาลต่ำ มีคาร์โบไฮเดรตที่เป็นรูปแบบค่อยๆ ปลดปล่อย ทำให้ระดับน้ำตาลในเลือดค่อยๆ เพิ่ม ซึ่งส่งผลดีต่อผู้ป่วยเบาหวานโดยตรง สามารถช่วยคุมระดับน้ำตาลในเลือดหลังรับประทานอาหารไม่ให้สูงเกิน มีงานวิจัยรองรับว่าการรับประทาน glucerna sr สามารถทำให้ระดับน้ำตาลในเลือดลดลง และช่วยให้อินซูลินทำงานได้ดีขึ้น นอกจากนี้ยังทำให้ความแปรปรวนของระดับน้ำตาลในเลือดดีขึ้น ...
ไขมันในเลือดสูงเท่าไรถึงอันตราย เท่าไรถึงต้องกินยา และวิธีลดง่ายๆ
พูดถึงค่าไขมัน เวลาไปตรวจสุขภาพมาแล้วจะได้มาหลายค่า แต่ค่าที่สำคัญที่เราจะต้องดูหลักๆ คือ LDL (low-density lipoprotein) หรือที่เราเรียกว่าไขมันเลว เพราะจะเป็นตัวที่ถ้ามีค่าสูงมากๆ จะมีความเสี่ยงหลอดเลือดแดงแข็ง ที่ทำให้เกิดโรคหัวใจและหลอดเลือดต่างๆ ตามมา และเป็นตัวชี้วัดที่สำคัญในการเริ่มกินยาลดไขมันด้วย