ยาพาราตั้งครรภ์กินได้ไหม?
คำถาม ยาพาราตั้งครรภ์กินได้ไหม? คำตอบ แม้ว่ายาพาราเซตามอลจะเป็นยาแก้ปวดที่ดูจะปลอดภัยในคนท้องที่สุด แต่ก็ยังมีสิ่งที่ควรระมัดระวังอยู่ โดยขึ้นอยู่กับระยะเวลาและปริมาณการใช้ยาเป็นหลัก แบ่งเป็น 2 กรณี ใช้บางครั้งคราว ทำได้ ค่อนข้างปลอดภัย ✅ ใช้ต่อเนื่องนานๆ ไม่แนะนำ เนื่องจาก.. ⚠️ ผลต่อเด็กหากใช้ยาพาราเซตามอลต่อเนื่องนานๆ ไม่ได้ส่งผลร้ายแรงมาก แต่อาจมีผลต่อพัฒนาการของลูกในท้องได้ โดย ผลต่อทารกในครรภ์หลักๆ คือเพิ่มความเสี่ยงในการพัฒนาของสมอง ระบบสืบพันธุ์และระบบทางเดินปัสสาวะ เสี่ยงต่อโรคหอบหืดและหายใจมีเสียงหวีดเพิ่มมากขึ้น เพิ่มความเสี่ยงโรคสมาธิสั้นหรือที่เรียกว่า attention-deficit/hyperactivity disorder (ADHD) จะมีปัญหาในการการโฟกัส การรักษาสมาธิ กระสับกระส่าย มีปัญหาในการรอคอย ลำบากในการทำงานให้เสร็จตามเป้าหมาย ความผิดปกติของระบบทางเดินปัสสาวะและอวัยวะสืบพันธุ์ในบุตรชาย เช่น ระยะห่างระหว่างอวัยวะเพศกับทวารหนักสั้นลง (AGD) ร่วมกับระดับฮอร์โมนที่ลดลงในช่วงพัฒนาการที่สำคัญ งานวิจัยหลายชิ้นบ่งชี้ว่าการได้รับยาพาราเซตามอลเป็นเวลานานขณะตั้งครรภ์ส่งผลเสียต่อเด็ก อย่างไรก็ตาม พบว่าความเสี่ยงจากการได้รับยาในระยะสั้นนั้นน้อยหรือไม่มีเลย ระยะเวลาที่ได้รับยาพาราเซตามอล การได้รับยาพาราเซตามอลระยะสั้น: การได้รับยาพาราเซตามอลเป็นเวลา 24 ชั่วโมงหรือไม่กี่วัน แทบไม่ส่งผลต่อการพัฒนาของสมอง การได้รับยาพาราเซตามอลระยะยาว(ต่อเนื่อง): การได้รับยาพาราเซตามอลเป็นเวลามากกว่า 1 สัปดาห์หรือมากกว่า ส่งผลเสียต่อพัฒนาการทางสมอง การสืบพันธุ์ และโรคหอบหืดในเด็ก โดยเฉพาะอย่างยิ่งกับการได้รับยาอย่างต่อเนื่องตลอดการตั้งครรภ์ จะเสี่ยงมากที่สุดหากรับประทานยาเป็นเวลานานและบ่อยครั้ง โดยเฉพาะในช่วงไตรมาสที่สองและสามของการตั้งครรภ์ ความเสี่ยงที่เพิ่มขึ้นส่วนใหญ่มีความเชื่อมโยงกับการใช้ในระหว่างตั้งครรภ์นานกว่าสองหรือสี่สัปดาห์ ผลต่อแม่ เพิ่มความเสี่ยงโรคโลหิตจาง เพิ่มความเสี่ยงครรภ์เป็นพิษ มักเกิดไตรมาส 3 ของการตั้งครรภ์ การรับประทานยาพาราเซตามอลมากเกินไปขณะตั้งครรภ์ อาจทำให้เกิดความเสียหายต่อตับ ไต และภาวะโลหิตจางในหญิงตั้งครรภ์ได้ มีรายงานว่าทำให้เกิดปัญหาคล้ายกันในทารก แม้ว่าผลงานวิจัยจะสังเกตเห็นความผิดปกติดังที่กล่าวมา แต่ทั้งนี้ยังต้องรองานวิจัยเพิ่มเติมเพื่อยืนยันผลที่ชัดเจนต่อไปในอนาคต ...