อาหารสำหรับผู้ป่วยเบาหวานคืออะไร

อาหารปกติที่เรารับประทานกันมักจะเป็นแบบย่อยเร็ว เช่น ข้าว แป้ง ซึ่งเปลี่ยนเป็นน้ำตาลได้เร็ว ทำให้น้ำตาลในเลือดพุ่งสูงขึ้น ส่วนอาหารสำหรับผู้ป่วยเบาหวาน จะออกแบบมาให้ย่อยได้ช้าลง ไม่ทำให้น้ำตาลในเลือดพุ่งสูงในทีเดียว ซึ่งส่งผลดีต่อผู้ป่วยเบาหวานมากกว่า

โดยทั่วไปจะมีเกณฑ์วัดว่าอาหารชนิดไหนทำให้ระดับน้ำตาลในเลือดเพิ่มขึ้นมากน้อยแค่ไหน ซึ่งเราจะเรียกว่า ดัชนีน้ำตาล (glycemic index)

ดัชนีน้ำตาล (glycemic index)

ดัชนีน้ำตาล (glycemic index) เป็นค่าที่ใช้วัดว่าอาหารแต่ละชนิดทำให้ระดับน้ำตาลในเลือดเพิ่มขึ้นมากน้อยแค่ไหน จะแบ่งเป็น 3 ระดับ

  • ต่ำ (Low): น้อยกว่าหรือเท่ากับ 55
  • กลาง (Medium): 56–69
  • สูง (High): ตั้งแต่ 70 ขึ้นไป

glycemic index

จะเห็นว่าอาหารที่มีค่าดัชนีน้ำตาล (glycemic index) ยิ่งสูง น้ำตาลในเลือดยิ่งเพิ่มสูงขึ้นเร็วซึ่งไม่ดี เพราะจะไปกระตุ้นให้เพิ่มการหลั่งอินซูลินเพื่อมาดึงน้ำตาลไปใช้ (อินซูลินทำงานหนัก) นานๆ เข้าทำให้อินซูลินทำงานผิดปกติจนไม่สามารถควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดได้ส่วนอาหารที่มีดัชนีน้ำตาลต่ำจะมีข้อดีที่สำคัญคือช่วยคุมระดับน้ำตาลในเลือดให้ดีขึ้นได้

โดยมีงานวิจัยที่แสดงให้เห็นว่าการกินอาหารที่มีดัชนีน้ำตาลต่ำจะช่วยลดระดับน้ำตาลในเลือดได้


อาหารสำหรับผู้ป่วยเบาหวาน Glucerna SR (กลูเซอนา เอสอาร์)

glucerna sr

Glucerna sr เป็นผลิตภัณฑ์ที่ทำขึ้นเพื่อผู้ป่วยเบาหวานโดยเฉพาะ คือจะออกแบบมาให้มีค่าดัชนีน้ำตาลต่ำ มีคาร์โบไฮเดรตที่เป็นรูปแบบค่อยๆ ปลดปล่อย ทำให้ระดับน้ำตาลในเลือดค่อยๆ เพิ่ม ซึ่งส่งผลดีต่อผู้ป่วยเบาหวานโดยตรง สามารถช่วยคุมระดับน้ำตาลในเลือดหลังรับประทานอาหารไม่ให้สูงเกิน

มีงานวิจัยรองรับว่าการรับประทาน glucerna sr สามารถทำให้ระดับน้ำตาลในเลือดลดลง และช่วยให้อินซูลินทำงานได้ดีขึ้น นอกจากนี้ยังทำให้ความแปรปรวนของระดับน้ำตาลในเลือดดีขึ้น

ส่วนประกอบ

  • คาร์โบไฮเดรต (Carbohydrates): เป็นรูปแบบปล่อยช้าๆ (Slow-release) คือเมื่อกินเข้าไปแล้วจะค่อยๆ ปลดปล่อยออกมา ช่วยให้ระดับน้ำตาลในเลือดคงที่ได้เป็นระยะเวลานาน ไม่ได้ย่อยเร็วเหมือนคาร์โบไฮเดรตทั่วไป ที่ทำให้ระดับน้ำตาลในเลือดพุ่งสูงอย่างรวดเร็ว นอกจากนี้ยังมีดัชนีน้ำตาลต่ำ
  • ไขมัน (Fats): ประกอบด้วยไขมันดีชนิด mono-unsaturated fatty acid (MUFA) ซึ่งไขมันชนิดนี้จะช่วยลดคอเลสเตอรอลที่ไม่ดีในเลือดลง ซึ่งช่วยลดความเสี่ยงโรคหัวใจด้วย
  • มีใยอาหาร นอกจากนี้ยังมีวิตามินและแร่ธาตุที่จำเป็นอีกหลายชนิด

วิธีรับประทาน/วิธีชง

  • วิธีรับประทาน: รับประทานทดแทนมื้ออาหาร 1 มื้อ วันละ 1 ครั้ง(1 แก้ว) หรือรับประทานเป็นอาหารว่างระหว่างมื้อหลักได้
  • วิธีชง: เตรียมน้ำสะอาดใส่แก้ว 200 มิลลิลิตร จากนั้นเติมผง glucerna sr 5 ช้อนตวงปาด เสร็จแล้วคนให้เข้ากัน

ผลข้างเคียง

Glucerna SR ถือว่าปลอดภัยมากๆ สำหรับคนส่วนใหญ่ แต่ก็จะมีผลข้างเคียงที่อาจเกิดขึ้นได้ เช่น

  • รู้สึกไม่สบายท้อง: อาจเกิดอาการท้องอืด ท้องเฟ้อ หรือท้องเสีย
  • อาการแพ้: บางคนอาจแพ้ส่วนผสมบางชนิดในผลิตภัณฑ์ ให้สังเกตว่าหากมีผื่น คัน หรือบวม ให้หยุดใช้และปรึกษาแพทย์
  • อาการอื่นๆ: หากรู้สึกว่าร่างกายผิดปกติอย่างเห็นได้ชัด ควรหยุดใช้

คำถาม

คนปกติกินได้ไหม

กินได้ แต่จริงๆ ผลิตภัณฑ์นี้ทำขึ้นเพื่อให้ผู้ป่วยเบาหวานโดยเฉพาะ ทำให้อาหารสูตรนี้ดีในแง่ของการควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดแต่จะมีโปรตีนน้อยกว่าเครื่องดื่มโปรตีนสูงชนิดอื่นๆ ที่คนทั่วไปนิยมกิน เพราะฉะนั้นในคนปกติหากอยากกินอาหารแบบนี้อาจมีทางเลือกอื่นที่ดีกว่า

โรคไตกินได้ไหม

ไม่ควรกิน เนื่องจาก….

Glucerna SR ถึงแม้ว่าจะช่วยเรื่องระดับน้ำตาลในเลือด แต่จะมีสารอาหารอื่นๆ ใส่มาด้วย เช่น sodium potassium และ phosphorus ซึ่งในคนที่เป็นโรคไตจะต้องจำกัดการบริโภคสารเหล่านี้ เนื่องจากไตไม่สามารถทำงานได้ปกติ ควรปรึกษาแพทย์หากต้องการหาอาหารเสริมกิน เพราะมีสูตรอาหารที่เหมาะกับคนเป็นโรคไตโดยเฉพาะเหมือนกัน

Glucerna SR กับ Glucerna plus ต่างกันยังไง

สำหรับผู้ป่วยเบาหวาน ควรกิน Glucerna SR มากกว่า เนื่องจากในงานวิจัยจะใช้ตัวนี้ ซึ่งตัวนี้เป็นตัวหลักที่สามารถกินทดแทนมื้ออาหารได้ ส่วนตัว plus ทาง official site ของไทยระบุในส่วนของวิธีรับประทานไว้ว่าเป็นเครื่องดื่มเสริมมื้ออาหาร ไม่ได้ให้กินทดแทนมื้ออาหารสำหรับผู้ป่วยเบาหวาน


คำแนะนำเพิ่มเติม

เวลาเรากินอาหารในจานๆ นึงก็จะมีอาหารหลายชนิดปนๆ กัน มีทั้งอาหารที่ดัชนีน้ำตาลต่ำไปจนถึงสูง ซึ่งในไทยจะนิยมกินข้าวคู่กับกับข้าว กับข้าวจะมีการปรุงด้วยน้ำตาลเยอะในหลายๆ บ้าน ตัวข้าวขาวเองที่คนไทยนิยมกินเป็นหลักปริมาณเยอะที่สุดในจานก็เป็นอาหารที่มีดัชนีน้ำตาลอยู่ที่ระดับสูง(ประมาณ 70) ส่วนข้าวเหนียวมีดัชนีน้ำตาลสูงถึง 90 และขนมปังนั้นจะมีดัชนีน้ำตาลสูง 90 เช่นกัน อาหารที่มีดัชนีน้ำตาลต่ำก็จะมีข้าวกล้อง ผัก ผลไม้บางชนิด เช่น แอปเปิล ส้ม ซึ่งโดยรวมแล้วอาหารไทยมื้อหลักจะมีค่าดัชนีน้ำตาลไปทางค่อนข้างสูงซะส่วนใหญ่ ยกเว้นคนที่กินข้าวกล้องเป็นหลัก

สำหรับผู้ป่วยเบาหวานแล้วต้องบอกว่าหากกินแบบนี้อยู่อาจจะต้องปรับตัว เช่น ถ้ากินข้าวขาวเป็นหลัก อาจเปลี่ยนเป็นข้าวกล้องแทน และไม่ปรุงอาหารรสหวานจนเกินไป แต่ถ้าไม่สะดวกจริงๆ มีอาหารสำหรับสูตรเฉพาะผู้ป่วยเบาหวานที่ขายตามท้องตลาด เช่น glucerna sr ซึ่งสามารถกินทดแทนมื้ออาหารได้ อาหารสูตรสำหรับผู้ป่วยเบาหวานจะออกแบบมาให้มีค่าดัชนีน้ำตาลต่ำ ซึ่งเป็นผลดีต่อคนที่เป็นโรคเบาหวาน


Reference

  1. The use of low-glycaemic index diets in diabetes control — PubMed (nih.gov)
  2. Glucerna SR.pdf (abbottnutrition.com)
  3. The Effect of Liquid Meal Replacements on Cardiometabolic Risk Factors in Overweight/Obese Individuals With Type 2 Diabetes: A Systematic Review and Meta-analysis of Randomized Controlled Trials — Diabetes Care — American Diabetes Association (diabetesjournals.org)
  4. https://ichgcp.net/clinical-trials-registry/NCT02248714
  5. Breakfast replacement with a liquid formula improves glycaemic variability in patients with type 2 diabetes: a randomised clinical trial — British Journal of Nutrition — Cambridge Core
  6. Effect of a nutritional liquid supplement designed for the patient with diabetes mellitus (Glucerna SR) on the postprandial glucose state, insulin secretion and insulin sensitivity in healthy subjects — PubMed (nih.gov)
  7. Glycemic Index Guide — Learn about the Glycemic Index (GI) (glycemic-index.net)
  8. Monounsaturated Fats — American Heart Association
  9. Glucerna Warnings — Statcare (statcarewalkin.com)
  10. HCP_RSP_Clinical_Abstract_EXTERNAL_0429.pdf (abbottnutrition.com)
  11. Effect of a nutritional liquid supplement designed for the patient with diabetes mellitus (Glucerna SR) on the postprandial glucose state, insulin secretion and insulin sensitivity in healthy subjects — PubMed (nih.gov)
  12. Breakfast replacement with a liquid formula improves glycaemic variability in patients with type 2 diabetes: a randomised clinical trial — British Journal of Nutrition — Cambridge Core