veg-fern-cover

ผักกูด สรรพคุณทางยาและข้อควรระวัง

ผักกูดเป็นผักชนิดหนึ่งที่อยู่ในตระกูลเฟิร์นที่สามารถกินได้ มีสารอาหารที่จำเป็นหลากหลายชนิด และผักกูดยังมีสรรพคุณทางยาอีกมากมาย เช่น ลดเบาหวาน กระตุ้นระบบประสาท ปรับระบบภูมิคุ้มกัน ลดอาการแพ้แบบรุนแรง ลดการอักเสบ ต้านอนุมูลอิสระ ฆ่าพยาธิ ต้านแบคทีเรีย ข้อมูลทั่วไปของผักกูด ชื่อภาษาไทย: ผักกูด ชื่อภาษาอังกฤษ: vegetable fern ชื่อวิทยาศาสตร์: Diplazium esculentum ส่วนสำคัญทางยา: ใบ ต้น ฟรอนด์ ราก เหง้า ผักกูดเป็นผักชนิดหนึ่งที่อยู่ในตระกูลเฟิร์นที่อยู่ในวงศ์ Athyriaceae มีสารชีวภาพหลายชนิดและมีคุณค่าทางโภชนาการสูง โดยทั่วไปแล้วผักกูดเป็นผักยอดนิยมที่บริโภคกันทั่วโลก เช่น อินเดีย ฟิลิปปินส์ เนปาล จีน ไทย อินโดนีเซีย เป็นต้น ใบอ่อน(frond) มักใช้ในผัดผัก สลัด และซุป ใบอ่อนมีเนื้อสัมผัสที่นุ่มละมุนและรสชาติที่นุ่มนวล คุณค่าทางโภชนาการ ประกอบด้วยโปรตีน คาร์โบไฮเดรต วิตามิน ไฟเบอร์ ไขมัน และแร่ธาตุ นอกจากนี้ยังประกอบด้วยสารอาหารหลักและสารอาหารรอง (macronutrient and micronutrient) ที่จำเป็นอีกหลายชนิด อุดมไปด้วยสารอาหารรอง เบตาแคโรทีน กรดโฟลิก และแร่ธาตุ เช่น แคลเซียม เหล็ก และฟอสฟอรัส มีสารอาหารที่ไม่ดีด้วยเช่น กรดไฟติก ทริปซิน และแทนนินอยู่ แต่มีปริมาณน้อยเลยค่อนข้างปลอดภัย สรรพคุณแผนโบราณ สมัยดั้งเดิมมีการใช้ผักกูดเพื่อป้องกันหรือรักษาโรคหลายชนิด เช่น โรคเบาหวาน โรคไข้ทรพิษ โรคหอบหืด โรคท้องร่วง โรคไขข้อ โรคบิด อาการปวดศีรษะ อาการไข้ บาดแผล อาการปวด โรคหัด โรคความดันโลหิตสูง โรคท้องผูก ภาวะอสุจิน้อย กระดูกหัก และต่อมบวม ...

October 15, 2024 · 2 min
thunbergia-laurifolia-cover

รางจืด สรรพคุณทางยาและวิธีทำชารางจืดจากใบสด

รางจืดเป็นพืชสมุนไพรที่มีสรรพคุณหลักๆ ที่เป็นที่รู้จักคือล้างสารพิษ(ถอนพิษ) ประโยชน์ด้านอื่นๆ เช่น ต้านอนุมูลอิสระ ปกป้องตับ ลดน้ำตาลในเลือด ต้านแบคทีเรีย ต้านเชื้อรา ลดการอักเสบ แก้ปวด ลดไข้

October 9, 2024 · 3 min
roselle-cover

กระเจี๊ยบแดง สรรพคุณทางยา

กระเจี๊ยบแดงหรือกระเจี๊ยบเปรี้ยว เป็นสมุนไพรที่นิยมนำมาต้มกินเป็นเครื่องดื่ม แต่นอกจากจะดื่มเพื่อให้สดชื่นแล้ว กระเจี๊ยบแดงยังมีสรรพคุณ ประโยชน์ในทางการแพทย์ที่หลากหลาย ไม่ว่าจะเป็น การลดความดัน ลดไขมัน ลดเบาหวาน ต้านการอักเสบ ต้านมะเร็ง ปกป้องไต ปกป้องตับ ต้านแบคทีเรีย ซึ่งในบัญชียาหลักแห่งชาติของประเทศไทย พ.ศ.2566 จัดให้กระเจี๊ยบแดงอยู่ในยากลุ่มขับปัสสาวะและแก้ขัดเบา นอกจากนี้ยังมีสรรพคุณอื่นๆ อีก การกินกระเจี๊ยบแดงให้ได้ประโยชน์ควรกินในปริมาณที่เหมาะสมเพื่อให้ได้ผลตามงานวิจัยต่างๆ ด้วย และไม่กินมากเกินจนส่งผลเสียต่อร่างกาย ข้อมูลทั่วไป ชื่อภาษาอังกฤษ: Roselle ชื่อวิทยาศาสตร์: Hibiscus sabdariffa L. อยู่ในวงศ์ MALVACEAE ชื่ออื่นๆ: ผักเก็งเค็ง ส้มเก็งเค็ง ส้มพอเหมาะ ส้มตะเลงเครง ส้มปู กระเจี๊ยบ กระเจี๊ยบแดง กระเจี๊ยบเปรี้ยว ส้มพอดี ใบส้มม่า ส่วนสำคัญทางยา: กลีบเลี้ยง(calyces) ของดอกกระเจี๊ยบแดงหรือที่เราเห็นเป็นลูกแดงๆ เป็นส่วนที่ถูกนำมาใช้ประโยชน์ในทางการแพทย์มากที่สุด เนื่องจากเป็นส่วนที่อุดมไปด้วยสารพฤกษเคมีที่มีฤทธิ์ทางยา ได้แก่ สารกลุ่มกรดอินทรีย์ สารกลุ่มฟีนอลิก สารกลุ่มฟลาโวนอยด์ และสารกลุ่มแอนโธไซยานิน สรรพคุณทางยา ลดความดันโลหิต กระเจี๊ยบแดงสามารถลดความดันโลหิตได้ทั้งขณะหัวใจบีบตัวและขณะหัวใจคลายตัว มีงานวิจัยที่พบว่า การดื่มชากระเจี๊ยบแดงวันละครั้งสามารถลดความดันโลหิตจาก 180/120 มิลลิเมตรปรอท เป็น 150/100 มิลลิเมตรปรอท นอกจากนี้มีงานวิจัยอื่นๆ ที่มาช่วยยืนยันคือคนที่ดื่มชากระเจี๊ยบแดงเป็นเวลา 2 สัปดาห์ สามารถลดความดันขณะหัวใจบีบตัว ได้ 11.2% และลดความดันขณะหัวใจคลายตัวได้ 10.7% กินชากระเจี๊ยบแดง 3 กรัม ชงกับน้ำร้อน 150 มิลลิลิตร ติดต่อกันเป็นเวลา 1 เดือน ลดความดันโลหิตได้ร้อยละ 43.5 ทั้งขณะหัวใจบีบตัวและขณะหัวใจคลายตัว ผลการวิจัยเหล่านี้ชี้ให้เห็นว่าการกินชากระเจี๊ยบแดงเป็นประจำช่วยลดและควบคุมความดันโลหิตและอัตราการเต้นของหัวใจได้โดยไม่ทำให้เกิดความดันโลหิตต่ำ ลดเบาหวาน สามารถลดระดับน้ำตาลในเลือดในคนที่สุขภาพดี คนที่มีแนวโน้มเป็นโรคเบาหวาน รวมไปถึงคนที่เป็นเบาหวาน โดยขนาดที่กินแต่ละงานวิจัยจะแตกต่างกันดังนี้ ดื่มชากระเจี๊ยบแดง 3 กรัม ชงกับน้ำร้อน 150 มิลลิลิตร ติดต่อกันเป็นเวลา 1 เดือน สามารถลดระดับน้ำตาลสูงสุดจากเฉลี่ย 162.1 เป็น 112.5 มิลลิกรัมต่อเดซิลิตร คนที่เป็นเบาหวานประเภทที่ 2 ที่กินกระเจี๊ยบแดง 500 มิลลิกรัม/เม็ด 2 ครั้งต่อวัน พบว่า สามารถลดระดับน้ำตาลขณะอดอาหารได้ ลดไขมันและความอ้วน การกินกระเจี๊ยบแดงเพิ่มไขมันชนิดดี (HDL) และลดไขมันชนิดที่ไม่ดี โดยปริมาณการกินที่แตกต่างกันให้ผลลัพธ์เกี่ยวกับการลดไขมันดังนี้ กินผงกระเจี๊ยบ 500 มิลลิกรัมต่อวัน เป็นเวลา 4 สัปดาห์ สามารถลดระดับไขมันไตรกลีเซอไรด์ได้ ดื่มชากระเจี๊ยบแดง 3 กรัม ชงกับน้ำร้อน 150 มิลลิลิตร ติดต่อกันเป็นเวลา 1 เดือน สามารถเพิ่มไขมันชนิดดี (HDL) และลดไขมันชนิดที่ไม่ดี เช่น ไขมันชนิดเลว (LDL)ไตรกลีเซอไรด์ (TG) และอะโปโปรตีน-บี100 ดื่มชากระเจี๊ยบแดง 2 กรัม ชงกับน้ำร้อน 150–240 มิลลิลิตร 2 ครั้งต่อวัน เป็นเวลาต่อเนื่อง 1 เดือน สามารถเพิ่มไขมันดี (HDL) และลดไขมันไม่ดีตัวอื่นๆ เช่น ไขมันชนิดเลว (LDL)ไตรกลีเซอไรด์ (TG) และอะโปโปรตีน-บี100 ขับปัสสาวะ แก้ขัดเบา สามารถใช้เป็นยาสมุนไพร โดยมีการระบุในบัญชียาหลักแห่งชาติชัดเจนในแง่ของการขับปัสสาวะ แก้ขัดเบา การติดเชื้อในทางเดินปัสสาวะ ผู้หญิงที่กินยาเม็ดที่มีกระเจี๊ยบแดงผสมกับบอสเวลล์เลีย(จากต้นบอสเวลล์) เป็นเวลา 2 ครั้งต่อวัน ต่อเนื่อง 7 วัน สามารถลดอาการทางเดินปัสสาวะอักเสบและลดการกลับมาเป็นซ้ำ ซึ่งผลลัพธ์คล้ายกับยาต้านแบคทีเรีย ผู้ที่ใส่สายสวนปัสสาวะที่ดื่มเครื่องดื่มจากกระเจี๊ยบแดงลดโอกาสการกลับมาเป็นโรคทางเดินปัสสาวะอักเสบซ้ำได้ถึง 36% ฤทธิ์ขับปัสสาวะ พบว่าการดื่มเครื่องดื่มที่มีกระเจี๊ยบแดงสามารถขับปัสสาวะ ซึ่งมากน้อยตามปริมาณที่กิน แต่ไม่มีผลป้องกันนิ่วในไต ลดไข้และต้านการอักเสบ โดยทำให้ตัวชี้วัดการก่อไข้และการอักเสบลดลง ผู้ป่วยที่ดื่มสารสกัดกระเจี๊ยบแดง สามารถลดระดับโปรตีนที่เป็นตัวชี้บ่งว่ามีการอักเสบได้ 23.2% นอกจากนี้ยังสามารถลดระดับโปรตีนที่ตอบสนองต่อการอักเสบได้ในผู้ป่วยโรคไตที่เป็นเบาหวาน ต้านมะเร็ง ยับยั้งการเกิดเซลล์มะเร็งโดยใช้หลักการเหนี่ยวนำการตายของเซลล์(apoptosis) ซึ่งกลไกนี้จะช่วยกำจัดเซลล์ที่เสียหายหรือผิดปกติที่สามารถก่อให้เกิดมะเร็งได้ ปกป้องไต ประโยชน์ของกระเจี๊ยบแดงที่อาจส่งผลต่อไต ได้แก่ การทำงานของไตที่ดีขึ้นและผลต่อการขับกรดยูริก ในขณะที่ผลของยาขับปัสสาวะและการขับโซเดียมอาจส่งผลดีต่อความดันโลหิตสูง การทำงานของไต ผู้ที่กินสารสกัดแห้งของกระเจี๊ยบแดง 425 มิลลิกรัม (ที่มีสารแอนโทไซยานิน 5.5 มิลลิกรัม) วันละ 2 ครั้ง เป็นเวลา 8 สัปดาห์ สามารถช่วยการทำงานของไตในผู้ป่วยโรคไตที่เป็นเบาหวาน โดยทำให้ไตสามารถขับของเสียออกจากเลือดได้มากขึ้น ปกป้องตับ ไขมันพอกตับ การกินสารสกัดกระเจี๊ยบแดง 450 มิลลิกรัม (แคปซูล) 3 ครั้งต่อวันเป็นเวลา 12 สัปดาห์ สามารถลดการเกิดพังผืดในตับคือสามารถลดความเสียหายที่เกิดกับตับได้ โรคเกาต์และกรดยูริกสูง ผลต่อกรดยูริกในเลือด การศึกษาผลของการดื่มชากระเจี๊ยบแดง (ผง 1.5 กรัม ในน้ำร้อน 150 มล. วันละ 2 ครั้ง เป็นเวลา 15 วัน) ต่อคนที่มีสุขภาพแข็งแรงและผู้ที่มีประวัตินิ่วในไต ทั้งสองกลุ่มพบว่ามีการขับออกซาเลต ซิเตรต และกรดยูริกเพิ่มขึ้น โดยมีผลชัดเจนยิ่งขึ้นในผู้ที่มีประวัตินิ่วในไต ซึ่งชี้ให้เห็นถึงประโยชน์ที่อาจเกิดขึ้นในการจัดการภาวะกรดยูริกในเลือดสูงและโรคเกาต์ ต้านแบคทีเรีย ในการศึกษาในสัตว์ทดลองและห้องทดลองพบว่ากระเจี๊ยบแดงมีฤทธิ์ต้านแบคทีเรีย แต่การศึกษาในคนค่อนข้างมีน้อย ต้องศึกษาเพิ่มมากกว่านี้ ฤทธิ์ต้านแบคทีเรีย สารสกัดกระเจี๊ยบที่สกัดโดยใช้เมทานอล พบว่ามีฤทธิ์ต้านเชื้อแบคทีเรียที่สำคัญทั้งแบคทีเรียแกรมบวกและแบคทีเรียแกรมลบ โดยเฉพาะแบคทีเรียแกรมบวก ปวดท้องประจำเดือน อาจจะช่วยอาการปวดท้องประจำเดือนได้ เพราะมีฤทธิ์ลดการอักเสบ แต่อย่างไรก็ตามถ้าจะดูเฉพาะอาการปวดท้องประจำเดือนอาจต้องรอการศึกษาเพิ่มเติม ปริมาณที่แนะนำ/ระยะเวลากิน เนื่องจากสมุนไพรในการทดลองจะมีการกินปริมาณที่แตกต่างกันมาก ทำให้ค่อนข้างยากที่จะระบุให้ชัดเจนว่าควรกินเท่าไร ถ้าดูตามงานวิจัยการกินที่ง่ายที่สุดที่ครอบคลุมคือปริมาณกระเจี๊ยบ 2-3 กรัม ชงกับน้ำ(กินแบบชา) ...

October 8, 2024 · 3 min