คำถาม

ยาพาราตั้งครรภ์กินได้ไหม?


คำตอบ

แม้ว่ายาพาราเซตามอลจะเป็นยาแก้ปวดที่ดูจะปลอดภัยในคนท้องที่สุด แต่ก็ยังมีสิ่งที่ควรระมัดระวังอยู่ โดยขึ้นอยู่กับระยะเวลาและปริมาณการใช้ยาเป็นหลัก

แบ่งเป็น 2 กรณี

  • ใช้บางครั้งคราว ทำได้ ค่อนข้างปลอดภัย ✅
  • ใช้ต่อเนื่องนานๆ ไม่แนะนำ เนื่องจาก.. ⚠️

ผลต่อเด็กหากใช้ยาพาราเซตามอลต่อเนื่องนานๆ

ไม่ได้ส่งผลร้ายแรงมาก แต่อาจมีผลต่อพัฒนาการของลูกในท้องได้ โดย

  • ผลต่อทารกในครรภ์หลักๆ คือเพิ่มความเสี่ยงในการพัฒนาของสมอง ระบบสืบพันธุ์และระบบทางเดินปัสสาวะ เสี่ยงต่อโรคหอบหืดและหายใจมีเสียงหวีดเพิ่มมากขึ้น
  • เพิ่มความเสี่ยงโรคสมาธิสั้นหรือที่เรียกว่า attention-deficit/hyperactivity disorder (ADHD) จะมีปัญหาในการการโฟกัส การรักษาสมาธิ กระสับกระส่าย มีปัญหาในการรอคอย ลำบากในการทำงานให้เสร็จตามเป้าหมาย
  • ความผิดปกติของระบบทางเดินปัสสาวะและอวัยวะสืบพันธุ์ในบุตรชาย เช่น ระยะห่างระหว่างอวัยวะเพศกับทวารหนักสั้นลง (AGD) ร่วมกับระดับฮอร์โมนที่ลดลงในช่วงพัฒนาการที่สำคัญ

งานวิจัยหลายชิ้นบ่งชี้ว่าการได้รับยาพาราเซตามอลเป็นเวลานานขณะตั้งครรภ์ส่งผลเสียต่อเด็ก อย่างไรก็ตาม พบว่าความเสี่ยงจากการได้รับยาในระยะสั้นนั้นน้อยหรือไม่มีเลย

ระยะเวลาที่ได้รับยาพาราเซตามอล

  • การได้รับยาพาราเซตามอลระยะสั้น: การได้รับยาพาราเซตามอลเป็นเวลา 24 ชั่วโมงหรือไม่กี่วัน แทบไม่ส่งผลต่อการพัฒนาของสมอง
  • การได้รับยาพาราเซตามอลระยะยาว(ต่อเนื่อง): การได้รับยาพาราเซตามอลเป็นเวลามากกว่า 1 สัปดาห์หรือมากกว่า ส่งผลเสียต่อพัฒนาการทางสมอง การสืบพันธุ์ และโรคหอบหืดในเด็ก โดยเฉพาะอย่างยิ่งกับการได้รับยาอย่างต่อเนื่องตลอดการตั้งครรภ์
  • จะเสี่ยงมากที่สุดหากรับประทานยาเป็นเวลานานและบ่อยครั้ง โดยเฉพาะในช่วงไตรมาสที่สองและสามของการตั้งครรภ์
  • ความเสี่ยงที่เพิ่มขึ้นส่วนใหญ่มีความเชื่อมโยงกับการใช้ในระหว่างตั้งครรภ์นานกว่าสองหรือสี่สัปดาห์

ผลต่อแม่

  • เพิ่มความเสี่ยงโรคโลหิตจาง
  • เพิ่มความเสี่ยงครรภ์เป็นพิษ มักเกิดไตรมาส 3 ของการตั้งครรภ์

การรับประทานยาพาราเซตามอลมากเกินไปขณะตั้งครรภ์

  • อาจทำให้เกิดความเสียหายต่อตับ ไต และภาวะโลหิตจางในหญิงตั้งครรภ์ได้
  • มีรายงานว่าทำให้เกิดปัญหาคล้ายกันในทารก

แม้ว่าผลงานวิจัยจะสังเกตเห็นความผิดปกติดังที่กล่าวมา แต่ทั้งนี้ยังต้องรองานวิจัยเพิ่มเติมเพื่อยืนยันผลที่ชัดเจนต่อไปในอนาคต

ผู้ตอบ:

เภสัชกรประจำเว็บไซต์ iam-goods.com


อ้างอิง

  1. Barańska A, Kanadys W, Wdowiak A, Malm M, Błaszczuk A, Religioni U, Wdowiak-Filip A, Polz-Dacewicz M. Effects of Prenatal Paracetamol Exposure on the Development of Asthma and Wheezing in Childhood: A Systematic Review and Meta-Analysis. J Clin Med. 2023 Feb 24;12(5):1832. doi: 10.3390/jcm12051832. PMID: 36902618; PMCID: PMC10003539.
  2. Mother To Baby - Fact Sheets [Internet]. Brentwood (TN): Organization of Teratology Information Specialists (OTIS); 1994-. Acetaminophen (Paracetamol) 2023 Sep. Available from: https://www.ncbi.nlm.nih.gov/books/NBK582555/
  3. Bauer, A.Z., Swan, S.H., Kriebel, D. et al. Paracetamol use during pregnancy - a call for precautionary action. Nat Rev Endocrinol 17, 757–766 (2021). https://doi.org/10.1038/s41574-021-00553-7
  4. von Hellens, H., Keski-Nisula, L. & Sahlman, H. Increased risk of preeclampsia after use of paracetamol during pregnancy - causal or coincidence?. BMC Pregnancy Childbirth 21, 24 (2021). https://doi.org/10.1186/s12884-020-03490-x
  5. Liew Z, Ritz B, Rebordosa C, Lee P, Olsen J. Acetaminophen Use During Pregnancy, Behavioral Problems, and Hyperkinetic Disorders. JAMA Pediatr. 2014;168(4):313–320. doi:10.1001/jamapediatrics.2013.4914