คำถาม

ยาพาราห้ามกินเกินกี่เม็ด?


คำตอบ

ยาพาราเซตามอล ขนาดยาเม็ด 500 mg ที่ขายตามท้องตลาด ถ้าจะให้ดี ไม่ควรรับประทานเกิน 2 เม็ดต่อครั้ง (1000 mg) และ ไม่ควรรับประทานเกิน 6 เม็ดต่อวัน (ไม่เกิน 3250 mg) เต็มที่ไม่เกิน 8 เม็ดต่อวัน (4000 mg) โดยแต่ละครั้งกินให้ห่างกันอย่างน้อย 4 ชั่วโมง

หากรับประทานเกินขนาดมีโอกาสเกิด

การรับประทานยาพาราเซตามอลเกินขนาดทำให้ตับเสียหายได้

เมื่อร่างกายได้รับพาราเซตามอลมากเกินไป ตับจะผลิตสารพิษที่ชื่อ NAPQI ออกมา NAPQI เริ่มสะสมและจับกับเซลล์ตับ ทำให้เซลล์ตับเสียหายหรือเกิดเนื้อตายในตับ

ขนาดยาพาราเซตามอลที่เป็นพิษ

  • ขนาดยาที่เริ่มเป็นพิษจะเริ่มที่ 7.5 g ต่อวัน ถึง 10 g ต่อวัน
  • การรับประทานยาในขนาดปกติไม่น่าจะทำให้เกิดพิษต่อตับ แต่อย่างไรก็ตามมีบางกรณีที่เกิดพิษต่อตับจากการใช้ยาพาราเซตามอลในขนาดที่ใช้ในการรักษา
  • โดยผู้ที่มีความเสี่ยงคือ ผู้ที่มีภาวะตับไม่ดีอยู่แล้ว ดื่มแอลกอฮอล์เรื้อรัง ขาดสารอาหาร หรือรับประทานยาที่กระตุ้นเอนไซม์ (เช่น isoniazid) มีความเสี่ยงสูงที่จะเกิดพิษจากยาพารามากขึ้น
  • วิธีป้องกันสำหรับผู้ที่มีความเสี่ยงสูง คือ ลดขนาดยาลง รับประทานให้น้อยกว่า 6 เม็ดต่อวัน (3 g) อาจช่วยลดความเสี่ยงการเป็นพิษต่อตับได้

นอกจากนี้ยาที่ขายในท้องตลาดหลายยี่ห้ออาจเป็นยาตัวเดียวกันนี้ ควรดูรายละเอียดในฉลากยาให้ดีกว่าเป็นยาชนิดเดียวกันไหม เช่น ไทลินอล ซาร่า พาราแคพ ซีมอล ต่างก็เป็นยาพาราเซตามอลเหมือนกัน ยาสูตรผสมแก้ปวดบางตัวก็มีการผสมยาพาราเซตามอลเข้าไป เมื่อกินยาแก้ปวดหลายตัวพร้อมกันก็มีโอกาสได้รับยาพาราเซตามอลเกินขนาดได้ หากไม่มั่นใจสามารถสอบถามที่ร้านยาใกล้บ้านได้

อาการของพิษจากยาพาราเซตามอลแบ่งออกเป็น 4 ระยะ

  • ระยะที่ 1 (30 นาที ถึง 24 ชั่วโมง): ผู้ป่วยอาจไม่มีอาการหรืออาจมีอาการอาเจียนได้
  • ระยะที่ 2 (18 ชั่วโมง ถึง 72 ชั่วโมง): อาจจะมีอาการอาเจียนร่วมกับอาการปวดบริเวณท้องน้อยด้านขวาบนและความดันโลหิตต่ำ
  • ระยะที่ 3 (72 ชั่วโมง ถึง 96 ชั่วโมง): ตับทำงานผิดปกติ อาจทำให้เกิดปัญหาสุขภาพร้ายแรงต่างๆ ตามมา เช่น ไตวาย ปัญหาการแข็งตัวของเลือด กรดที่เป็นอันตรายสะสมในร่างกาย และการเปลี่ยนแปลงทางจิต เช่น สับสน นอกจากนี้ อาการทางระบบทางเดินอาหาร เช่น คลื่นไส้และอาเจียน อาจกลับมา อาการเหล่านี้เป็นอันตรายถึงชีวิต และมักเสียชีวิตในระยะนี้
  • ระยะที่ 4 (4 วัน ถึง 3 สัปดาห์): เป็นระยะฟื้นตัว

หากสงสัยตัวเองหรือคนคนรอบข้างได้รับยาพาราเซตามอลเกินขนาดควรรีบพบแพทย์ให้เร็วที่สุด

ผู้ตอบ:

เภสัชกรประจำเว็บไซต์ iam-goods.com


อ้างอิง

  1. Tylenol (acetaminophen) dosing, indications, interactions, adverse effects, and more. Available at: https://reference.medscape.com/drug/tylenol-acetaminophen-343346#0 (Accessed: 27 November 2024)
  2. Acetaminophen Toxicity - StatPearls - NCBI Bookshelf. Available at: https://www.ncbi.nlm.nih.gov/books/NBK441917/ (Accessed: 27 November 2024)
  3. Paracetamol-induced hepatotoxicity after normal therapeutic doses in the Hong Kong Chinese population - HKMJ. Available at: https://www.hkmj.org/abstracts/v30n5/355.htm (Accessed: 27 November 2024)
  4. Acetaminophen Dosage Guide + Max Dose, Adjustments - Drugs.com. Available at: https://www.drugs.com/dosage/acetaminophen.html (Accessed: 18 December 2024)